บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุป บทที่ 8 จริยธรรมและความปลอดภัย


บทที่ 8
จริยธรรมและความปลอดภัย

ความหมายของจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย   เช่น
หลักของศีลธรรมในแต่ละวิชาชีพเฉพาะ
มาตรฐานของการประพฤติ ปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ
ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูกและหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิด
สรุป
จริยธรรม (Ethics) คือ หลักของความถูกและผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้
1.              ปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนอย่างที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตน
2.              ถ้าการกระทำอย่างหนึ่งไม่เหมาะที่ทุกคนจะปฏิบัติ ดังนั้น การกระทำดังกล่าว ก็ไม่เหมาะที่คนใดคนหนึ่งจะปฏิบัติด้วย
3.              ถ้าการกระทำใดไม่พึงปฏิบัติซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง การกระทำนั้นก็ไม่ควรนำมาปฏิบัติเลยแม้แต่ครั้งเดียว
4.              ถ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยคนอื่นและมีประโยชน์ต่อคนใดคนหนึ่ง คน ๆ นั้นพึงให้คุณค่าและผลตอบแทนแก่ผู้ที่คิดค้นหรือสร้างขึ้นมา
R.O. Mason และคณะ (2001) ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภท คือ
1.) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy)
2.) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
3.) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property)
4.) ประเด็นของความเข้าถึงได้ของข้อมูล (Accessibility)

การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
ความเป็นส่วนตัวคือสิทธิที่อยู่ตามลำพังและสิทธิที่เป็นอิสระจากการถูกรบกวนโดยไม่มีเหตุอันควร
ความ เป็นส่วนตัวของข้อมูลสารสนเทศ คือ สิทธิในการตัดสินใจว่าเมื่อใดข้อมูลสารสนเทศของบุคคลหนึ่ง จะสามารถเปิดเผยให้กับผู้อื่นได้ และภายใต้ขอบเขตอย่างไร
แนวทางการพัฒนาคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล
                 ข้อมูลส่วนตัว ควรจะได้รับการตรวจสอบก่อนจะนำเข้าสู่ฐานข้อมูล
                 ข้อมูลควรมีความถูกต้องแม่นยำ และมีความทันสมัย
                 แฟ้มข้อมูลควรทำให้บุคคลสามารถเข้าถึง (ข้อมูลของตน) และตรวจสอบความถูกต้องได้
ความลับของข้อมูล
                 ควรมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลบุคคล ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิค และการบริหาร
                 บุคคลที่สามไม่สมควรได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลโดยปราศจากการรับรู้หรืออนุญาตของเจ้าของ ยกเว้นโดยข้อกำหนดของกฎหมาย
                 ข้อมูลไม่ควรถูกเปิดเผยด้วยเหตุผลที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล

การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สิน ทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมาย ถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น  ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไปมีอายุห้าสิบปี นับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
สิทธิ์บัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้  โดยสิทธิบัตรมีอายุ 20 ปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ปัจจุบัน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ อินเตอร์เน็ต ทำให้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นไปได้ทั้ง
1.              เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
คือ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และทำลายระบบคอมพิวเตอร์อื่น
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป้าหมายของอาชญากรรม
                2.1 การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
                     ซึ่งมีทั้ง Hacker และ Criminal Hacker (Cracker)
                2.2 การเปลี่ยนแปลงและทำลายข้อมูล     โดย
                                R virus : เป็นโปรแกรมที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น
                                R worms : เป็นโปรแกรมอิสระที่สามารถจำลองโปรแกรมเองได้
                2.3 การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
                2.4 การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (Computer-related Scams)

การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การรักษาความปลอดภัยให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และยังช่วยลดข้อผิดพลาด การทำลายระบบสารสนเทศ มีระบบการควบคุมที่สำคัญ 3 ประการ คือ
                   การควบคุมระบบสารสนเทศ
                   การควบคุมกระบวนการทำงาน
                   การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

สรุป บทที่ 7 ระบบสารสนเทศและวงจรการพัฒนาระบบ


บทที่ 7
ระบบสารสนเทศและวงจรการพัฒนาระบบ

ระบบสารสนเทศและวงจรการพัฒนาระบบ
(
Information System and System Development Life Cycle : SDLC)
                   สารสนเทศจากคอมพิวเตอร์ (Computer-Generated Information)
                    การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
                    วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC)
                    เครื่องมือในการวิเคราะห์ระบบ

Key Terms
                   Computer-Generated Information
                   TPS, OAS, KWS, MIS, DSS, ESS, ES, AI
                   Systems Development Life Cycle
                   Feasibility Study
                   Systems Analysis and Design
                   System Analyst
                   Maintenance
                   Reengineering

บริหาร Information เหมือนดั่ง Resource
                   เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Information ดังนั้นต้องมอง Information เป็นเหมือนดัง Resource ชนิดหนึ่งที่ต้องบริหาร
                   ต้องรู้ถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน Information
                 Production, Distribution, Security, Storage, Retrieval

Computer-Generated Information
                   พัฒนาการทางด้าน Network Computer, Internet, WWW ทำให้เกิด Information ขึ้นมาอย่างง่ายดาย และมากมาย
                   แตกต่างมากมายไปจากการ Information ที่ได้มาด้วยวิธีเก่า
                   เกิดระบบ (System) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเอา Information ไปใช้งาน

Computer-Generated Information
                   Transaction Processing Systems (TPS)
                   Office Automation Systems (OAS)
                   Knowledge Work Systems (KWS)
                   Management Information Systems (MIS)
                   Decision Support Systems (DSS)
                   Expert System & Artificial Intelligence (AI)

Transaction Processing Systems (TPS)
                   Operational Level
                   เป็น Computerized Information System ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อ Process ข้อมูลจำนวนมากสำหรับงานธุรกิจประจำวัน
                   ลดความน่าเบื่อ ลดเวลา
                   งานบัญชี งานสินค้าคงคลัง ฯลฯ

Office Automation Systems (OAS)  Knowledge Work Systems (KWS)
                   Knowledge Level
                   OAS ทำหน้าที่ Support ให้ กับผู้ทำงานทางด้านข้อมูล ซึ่งอาจจะไม่ใช่ผู้สร้างข้อมูลโดยตรงแต่ทำหน้าที่วิเคราะห์ จัดการ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง
                   Word Processing, Spreadsheets, Desktop Publishing, Voice Mail, E-mail
                   KWS ทำหน้าที่ Support ให้กับผู้ทำงานที่มีความเชี่ยวชาญเช่น นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร แพทย์ เพื่อช่วยให้ผู้คนเหล่านี้สร้าง Knowledge ขึ้นมาเพื่อใช้งานในองค์กร
                   เช่น โปรแกรมเฉพาะด้านที่ใช้งานเพื่อสร้าง Application ย่อยขึ้นมาสำหรับองค์กร
Management Information Systems (MIS)
                   MIS ครอบคลุม TPS
                   เป็นการทำงานระหว่าง คน กับ Computer โดยการนำ People, Software, Hardware ทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ Information มาใช้ในการตัดสินใจ (Decision Making) ในงานประจำวัน
                   Users ใน MIS จะใช้งาน Database ร่วมกัน

Decision Support Systems (DSS)
                   Higher Level
                   คล้ายกับ MIS เพราะยังมีการใช้งาน Database ร่วมกัน
                   ใช้ในการจัดการข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ (Decision Making)
                   ใช้ในการแก้ปัญหาซับซ้อน

Expert Systems & Artificial Intelligence (AI)
                   AI จัดเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงระบบอัจฉริยะ                     (Expert System)
                   จัดเป็น Special Class ของ Information System
                   ใช้ knowledge ของผู้เชี่ยวชาญ (Expert) มาใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะด้าน
                   บางครั้งจึงเรียกว่า Knowledge-based System

System Analysis and Design Concept
                   การวิเคราะห์ระบบ คืออะไร ?
                 การหาความต้องการ (Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร..?
                 Systems analysis is a problem-solving technique that decomposes a system into its component pieces for the purpose of studying how well those component parts work and interact to accomplish their purpose
                   การออกแบบระบบ คืออะไร ?
                 นำเอาความต้องการของระบบมาเป็น แบบแผน หรือเรียกว่าพิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้งานได้จริง
                 Systems Design (also called systems synthesis) is a complementary problem-solving technique (to systems analysis) that reassembles a system’s component pieces back into a complete system—hopefully, an improved system.

วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC)
                   วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) คืออะไร ?
                 วงจรชีวิตของระบบที่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำความเข้าใจ
                 A system life cycle divides the life of an information system into two stages, systems development and systems operation and support
                   วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) มี 7 ขั้นตอน
                 1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
                 2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
                 3. วิเคราะห์ (Analysis)
                 4. ออกแบบ (Design)
                 5. สร้าง หรือพัฒนา (Construction)
                 6. การติดตั้งหรือการปรับเปลี่ยน (Installation, Conversion)
                    7. บำรุงรักษา (Maintenance)

สรุป บทที่ 6 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce


บทที่ 6
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce

ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ได้มีผู้ความหมายไว้หลายความหมาย เช่น
v กิจกรรม เชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยมีการแลกเปลี่ยน เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลข่าวสาร โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีเมล์ และอื่น ๆ (Hill, 1997)
v การใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น EDI การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมอื่น ๆ โทรทัศน์และการใช้อินเทอร์เน็ต (Palmer, 1997)
กรอบแนวคิดของ E-Commerce
แอพพลิเคชั่นของ E-Commerce
การประยุกต์ใช้ E-Commerce มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางอย่างเช่น
*   การขายตรง
*   การซื้อขายหุ้น
*   การหางาน
*   ธนาคารออนไลน์
*   การจัดหาและการซื้อสินค้า
*   การประมูล
*   การท่องเที่ยว
*   การบริการลูกค้า
*   การพิมพ์งานออนไลน์ (Online publishing)
*   การติดต่อธุรกรรมระหว่างหน่วยงาน
*   ห้างสรรพสินค้า
ปัจจัยทางการบริหารของระบบ E-Commerce
v องค์การ / บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ E-Commerce
*   รัฐบาล
*   เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เครือข่ายโทรศัพท์
*   ให้การสนับสนุนและส่งเสริม
*   ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
*   ผู้ทำธุรกิจ
*   ผู้ใช้บริการ
*   ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)
*   ตัวกลาง (Intermediary) คือ หน่วยงานกลางที่ออกใบรับรอง (Certificate) ในระบบการชำระเงิน และรับรองผู้ซื้อและผู้ขายว่าเป็นบุคคลหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้
*   สถาบันการเงิน อำนวยความสะดวกในการชำระเงิน
v นโยบายสารธารณะและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบ E-Commerce
*   ภาษี
*   กฎหมายและระเบียบต่างๆ
*   มาตรฐานด้านเทคนิค
v การบริหารกลยุทธ์การตลาดและการโฆษณา
*   การวิจัยทางการตลาด
*   การส่งเสริมการขาย
*   เนื้อหาในเว็ป
v พันธมิตรทางการค้า
*   ลอจิสติกส์
*   หุ้นส่วนทางการค้า
โครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระบบ E-Commerce
v โครงสร้างพื้นฐานในการบริการ
*   แคตตาล็อกสินค้าออนไลน์ (E-Catalogue)
*   การชำระเงิน
*   การจัดส่งสินค้า
*   การบริการหลังการขาย
*   การรักษาความปลอดภัย
*   การบริการอื่น ๆ
v การกระจายสารสนเทศ
*   EDI
*   E-mail
*   Hypertext Transfer Protocol
*   Chat room
v เนื้อหามัลติมีเดียส์/การออกแบบ/การนำเสนอ
*   HTML
*   JAVA
*   WWW
v โครงสร้างเครือข่าย
*   เคเบิ้ลทีวี
*   อินเตอร์เน็ต
*   อินทราเน็ต
*   เอ็กซทราเน็ต
*   โทรศัพท์มือถือ
v โครงสร้างอินเตอร์เฟซ (Interface)
*   การออกแบบเว็บเพจ
*   ฐานข้อมูล
*   แอพพลิเคชั่น
ประเภทของ E-Commerce
E-Commerce มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ
*    ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B หรือ B2B)
*    ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C หรือ B2C)
*    ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G หรือ B2G)
*   ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C หรือ C2C)
E-Commerce แบบ B to B
เป็นการทำธุรกิจระหว่างธุรกิจ ซึ่งอาจมีทั้งภายในบริษัทเดียวกัน (Intra-Company E-Commerce) และระหว่างบริษัท (Inter-Company E-Commerce) ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
v  Seller-Oriented Marketplace
v  Buyer-Oriented Marketplace
v Seller-Oriented Marketplace
เป็นรูปแบบที่องค์กรขายสินค้าและบริการให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือธุรกิจ (ผู้ซื้อ) เข้าไปใน web site เลือก ชมสินค้าในแคตตาล็อก และสั่งซื้อสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าประจำ นอกจากนี้ยังมีระบบการสั่งสินค้า ระบบการจ่ายเงิน ผนวกกับระบบลอจิสติกส์ของผู้ขาย
v Buyer-Oriented Marketplace
มี จุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูล โดยมีการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อเพื่อประมวลหาผู้ขายที่ดีที่สุด
E-Commerce แบบ B to C
1)            ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
                เป็นการขายตรงจากธุรกิจถึงลูกค้า ซึ่งมีรูปแบบ 2 ประเภทคือ
q Solo Storefronts
q Electronic mall หรือ Cybermall
2)  การโฆษณา
q แบบ Banners
q แบบ E-mail  (แต่อาจจะทำให้เกิด Spamming)
3) แค็ตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์
4) ธนาคารไซเบอร์ (Cyber banking หรือ Electronic Banking หรือ Virtual Banking)
5)            ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
6)            การท่องเที่ยว
7)            อสังหาริมทรัพย์
8)            การประมูล (Auctions)
ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต
การซื้อ ขายในระบบ E-Commerce มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
*   การค้นหาข้อมูล
*   การเลือกและการต่อรอง
*   การซื้อสินค้า/บริการทางอินเตอร์เน็ต
*   การจัดส่งสินค้า/บริการ
*   การพัฒนาหลังการขาย
ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
การจ่ายเงินแบบเดิม เช่น การใช้เงินสด, เช็ค, ธนาณัติ, และการให้หมายเลข Credit Card มีข้อจำกัดในการนำมาใช้กับระบบ E-Commerce  เช่น ความปลอดภัย, ความล่าช้า, และต้นทุนในการดำเนินการ ดังนั้น ระบบ E-Commerce จึงได้มีการพัฒนาการชำระแบบ Electronic เช่น เช็คอิเล็กทรอนิกส์, เครดิตคาร์ดอิเล็กทรอนิกส์, การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์, การใช้สมาร์ทการ์ด, และการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ E-Commerce
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government)
เป็นการประยุกต์แนวคิดของ E-Commerce โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการรับ-ส่ง สารสนเทศและการบริการของรัฐสู่ประชาชน, ภาคธุรกิจ, หรือหน่วยงานของรัฐ  ซึ่งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มี 3 รูปแบบ  คือ
1)  รัฐบาลกับประชาชน  (G2C)
                คือการใช้บริการของรัฐไปยังประชาชน เช่น การเสียภาษี online เป็นต้น
2)  รัฐบาลกับธุรกิจ(G2B)
                เป็นการติดต่อระหว่างภาครัฐกับเอกชน หรือ suppliers เพื่อดำเนินธุรกิจ เช่น การประมูลผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction) การจัดซื้อจัดจ้างผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (E-Procurement)
3) รัฐบาลกับรัฐบาล (G2G)
                เป็นการติดต่อระหว่างภาครัฐกับรัฐ ในกระทรวงหรือระหว่างกระทรวงก็ได้      
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนที่ (M-Commerce)
คือ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านอุปกรณ์แบบไร้สาย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่, PDA ซึ่งลักษณะสำคัญของ M-Commerce มีดังนี้
                1) เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว (Mobility)
                2) เข้าถึงง่าย (Reachability)
                3) มีแพร่หลาย (Ubiquity)
                4) สะดวกในการใช้งาน (Convenience)
ตัวอย่างเช่น I-MODE ของ NTT DoCoMo ของประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้ในการซื้อขายหุ้น, ซื้อตั๋วเดินทาง, ส่งภาพ, หาข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของ E-Commerce
ประโยชน์ต่อบุคคล
1)            มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย
2)            ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น
3)            สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
4)            ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว
5)            ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
6)            สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง
7)            ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับลูกค้ารายอื่นในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
8)            ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า (Value Chain Integration)
ประโยชน์ต่อองค์การธุรกิจ
1)            ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
2)            ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ
3)            ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจายการเก็บและการดึงข้อมูลได้ถึงร้อยละ 90
4)            ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะ Internet ราคาถูกกว่าโทรศัพท์
5)            ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
6)            ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประโยชน์ต่อสังคม
1)            ทำให้คนสามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง ทำให้การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ
2)            ทำให้มีการซื้อขายสินค้าราคาถูกลง  คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้
ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
1)            กิจการ SMEs ในประเทศกำลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก
2)            ทำให้กิจการในประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้
3)            บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ทำให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง ทำให้อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดลดลงด้วย
4)            ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกันในเมือง
5)            เพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ข้อจำกัดเกี่ยวกับ E-Commerce
ข้อจำกัดด้านเทคนิค
1)            ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ
2)            ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด
3)            ซอร์ฟแวร์ยังกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
4)            ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่าง Internet และซอร์ฟแวร์ของ E-commerce กับแอพพลิเคชั่น
5)            ต้องการ Web Server และ Network Server ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
6)            การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตยังมีราคาแพงและไม่สะดวก
ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
1)            กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่เหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่างกัน
2)            การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่
3)            ปัญหาเกิดจากการทำธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่
ข้อจำกัดด้านธุรกิจ
1)            วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) จะ สั้นลง เพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว การลอกเลียนผลิตภัณฑ์จึงทำได้รวดเร็ว เกิดคู่แข่งเข้ามาในตลาดได้ง่าย จะต้องมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เสมอ
2)            ความพร้อมของภูมิภาคต่าง ๆในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ E-Commerce มีไม่เท่ากัน
3)            ภาษีและค่าธรรมเนียม จาก E-Commerce จัดเก็บได้ยาก ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง
4)            ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce ครบวงจรค่อนข้างสูง  เพราะรวมถึงค่า Hardware, Software ที่มีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนค่าจ้างบุคลากร
5)            ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมาก ในโครงสร้างพื้นฐาน
6)            เงินสดอิเลกทรอนิกส์ ทำให้เกิดการฟอกเงินได้ง่าย เนื่องจากการใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้การตรวจสอบที่มาของเงินทำได้ยาก
ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ
1)            การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเตอร์เน็ต มีมาก และมีการขยายตัวเร็วมากกว่าการพัฒนาของอินเตอร์เน็ตเสียอีก
2)            สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ระบบ การจ่ายเงิน หรือการให้ข้อมูลของลูกค้าทางอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อเป็นใคร และสามารถใช้ซอร์ฟแวร์ติดตามกิจกรรมต่าง ๆ หรือส่ง Spam ไปรบกวนได้
3)            E-Commerce เหมาะกับระบบเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อถือและไว้ใจได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4)            ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดีของ E-Commerce เช่น การโฆษณาผ่านทาง E-Commerce ว่าได้ผลเป็นอย่างไร
5)            จำนวนผู้ซื้อ / ขาย ที่ได้กำไรหรือประโยชน์จาก E-Commerce ยังมีจำกัด โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งสัดส่วนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากรต่ำมาก และการใช้ E-Commerce ในการซื้อ/ขายสินค้า มีน้อยมาก