บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุป บทที่ 8 จริยธรรมและความปลอดภัย


บทที่ 8
จริยธรรมและความปลอดภัย

ความหมายของจริยธรรม
คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย   เช่น
หลักของศีลธรรมในแต่ละวิชาชีพเฉพาะ
มาตรฐานของการประพฤติ ปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ
ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูกและหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิด
สรุป
จริยธรรม (Ethics) คือ หลักของความถูกและผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้
1.              ปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนอย่างที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อตน
2.              ถ้าการกระทำอย่างหนึ่งไม่เหมาะที่ทุกคนจะปฏิบัติ ดังนั้น การกระทำดังกล่าว ก็ไม่เหมาะที่คนใดคนหนึ่งจะปฏิบัติด้วย
3.              ถ้าการกระทำใดไม่พึงปฏิบัติซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง การกระทำนั้นก็ไม่ควรนำมาปฏิบัติเลยแม้แต่ครั้งเดียว
4.              ถ้า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยคนอื่นและมีประโยชน์ต่อคนใดคนหนึ่ง คน ๆ นั้นพึงให้คุณค่าและผลตอบแทนแก่ผู้ที่คิดค้นหรือสร้างขึ้นมา
R.O. Mason และคณะ (2001) ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภท คือ
1.) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy)
2.) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
3.) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property)
4.) ประเด็นของความเข้าถึงได้ของข้อมูล (Accessibility)

การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
ความเป็นส่วนตัวคือสิทธิที่อยู่ตามลำพังและสิทธิที่เป็นอิสระจากการถูกรบกวนโดยไม่มีเหตุอันควร
ความ เป็นส่วนตัวของข้อมูลสารสนเทศ คือ สิทธิในการตัดสินใจว่าเมื่อใดข้อมูลสารสนเทศของบุคคลหนึ่ง จะสามารถเปิดเผยให้กับผู้อื่นได้ และภายใต้ขอบเขตอย่างไร
แนวทางการพัฒนาคุ้มครองความเป็นส่วนตัว
ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล
                 ข้อมูลส่วนตัว ควรจะได้รับการตรวจสอบก่อนจะนำเข้าสู่ฐานข้อมูล
                 ข้อมูลควรมีความถูกต้องแม่นยำ และมีความทันสมัย
                 แฟ้มข้อมูลควรทำให้บุคคลสามารถเข้าถึง (ข้อมูลของตน) และตรวจสอบความถูกต้องได้
ความลับของข้อมูล
                 ควรมีมาตรการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลบุคคล ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเทคนิค และการบริหาร
                 บุคคลที่สามไม่สมควรได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลโดยปราศจากการรับรู้หรืออนุญาตของเจ้าของ ยกเว้นโดยข้อกำหนดของกฎหมาย
                 ข้อมูลไม่ควรถูกเปิดเผยด้วยเหตุผลที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูล

การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สิน ทางปัญญาเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ลิขสิทธิ์ (Copyright) หมาย ถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทำซ้ำในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น  ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไปมีอายุห้าสิบปี นับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
สิทธิ์บัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้  โดยสิทธิบัตรมีอายุ 20 ปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ปัจจุบัน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบ อินเตอร์เน็ต ทำให้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นไปได้ทั้ง
1.              เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
คือ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และทำลายระบบคอมพิวเตอร์อื่น
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป้าหมายของอาชญากรรม
                2.1 การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
                     ซึ่งมีทั้ง Hacker และ Criminal Hacker (Cracker)
                2.2 การเปลี่ยนแปลงและทำลายข้อมูล     โดย
                                R virus : เป็นโปรแกรมที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น
                                R worms : เป็นโปรแกรมอิสระที่สามารถจำลองโปรแกรมเองได้
                2.3 การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
                2.4 การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (Computer-related Scams)

การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การรักษาความปลอดภัยให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และยังช่วยลดข้อผิดพลาด การทำลายระบบสารสนเทศ มีระบบการควบคุมที่สำคัญ 3 ประการ คือ
                   การควบคุมระบบสารสนเทศ
                   การควบคุมกระบวนการทำงาน
                   การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น