บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุป บทที่ 6 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce


บทที่ 6
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce

ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ได้มีผู้ความหมายไว้หลายความหมาย เช่น
v กิจกรรม เชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยมีการแลกเปลี่ยน เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลข่าวสาร โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีเมล์ และอื่น ๆ (Hill, 1997)
v การใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น EDI การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมอื่น ๆ โทรทัศน์และการใช้อินเทอร์เน็ต (Palmer, 1997)
กรอบแนวคิดของ E-Commerce
แอพพลิเคชั่นของ E-Commerce
การประยุกต์ใช้ E-Commerce มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางอย่างเช่น
*   การขายตรง
*   การซื้อขายหุ้น
*   การหางาน
*   ธนาคารออนไลน์
*   การจัดหาและการซื้อสินค้า
*   การประมูล
*   การท่องเที่ยว
*   การบริการลูกค้า
*   การพิมพ์งานออนไลน์ (Online publishing)
*   การติดต่อธุรกรรมระหว่างหน่วยงาน
*   ห้างสรรพสินค้า
ปัจจัยทางการบริหารของระบบ E-Commerce
v องค์การ / บุคคลที่เกี่ยวข้องกับระบบ E-Commerce
*   รัฐบาล
*   เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เครือข่ายโทรศัพท์
*   ให้การสนับสนุนและส่งเสริม
*   ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
*   ผู้ทำธุรกิจ
*   ผู้ใช้บริการ
*   ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP)
*   ตัวกลาง (Intermediary) คือ หน่วยงานกลางที่ออกใบรับรอง (Certificate) ในระบบการชำระเงิน และรับรองผู้ซื้อและผู้ขายว่าเป็นบุคคลหรือหน่วยงานที่เชื่อถือได้
*   สถาบันการเงิน อำนวยความสะดวกในการชำระเงิน
v นโยบายสารธารณะและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบ E-Commerce
*   ภาษี
*   กฎหมายและระเบียบต่างๆ
*   มาตรฐานด้านเทคนิค
v การบริหารกลยุทธ์การตลาดและการโฆษณา
*   การวิจัยทางการตลาด
*   การส่งเสริมการขาย
*   เนื้อหาในเว็ป
v พันธมิตรทางการค้า
*   ลอจิสติกส์
*   หุ้นส่วนทางการค้า
โครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาระบบ E-Commerce
v โครงสร้างพื้นฐานในการบริการ
*   แคตตาล็อกสินค้าออนไลน์ (E-Catalogue)
*   การชำระเงิน
*   การจัดส่งสินค้า
*   การบริการหลังการขาย
*   การรักษาความปลอดภัย
*   การบริการอื่น ๆ
v การกระจายสารสนเทศ
*   EDI
*   E-mail
*   Hypertext Transfer Protocol
*   Chat room
v เนื้อหามัลติมีเดียส์/การออกแบบ/การนำเสนอ
*   HTML
*   JAVA
*   WWW
v โครงสร้างเครือข่าย
*   เคเบิ้ลทีวี
*   อินเตอร์เน็ต
*   อินทราเน็ต
*   เอ็กซทราเน็ต
*   โทรศัพท์มือถือ
v โครงสร้างอินเตอร์เฟซ (Interface)
*   การออกแบบเว็บเพจ
*   ฐานข้อมูล
*   แอพพลิเคชั่น
ประเภทของ E-Commerce
E-Commerce มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ
*    ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B หรือ B2B)
*    ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C หรือ B2C)
*    ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G หรือ B2G)
*   ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to C หรือ C2C)
E-Commerce แบบ B to B
เป็นการทำธุรกิจระหว่างธุรกิจ ซึ่งอาจมีทั้งภายในบริษัทเดียวกัน (Intra-Company E-Commerce) และระหว่างบริษัท (Inter-Company E-Commerce) ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
v  Seller-Oriented Marketplace
v  Buyer-Oriented Marketplace
v Seller-Oriented Marketplace
เป็นรูปแบบที่องค์กรขายสินค้าและบริการให้แก่องค์การอื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือธุรกิจ (ผู้ซื้อ) เข้าไปใน web site เลือก ชมสินค้าในแคตตาล็อก และสั่งซื้อสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าประจำ นอกจากนี้ยังมีระบบการสั่งสินค้า ระบบการจ่ายเงิน ผนวกกับระบบลอจิสติกส์ของผู้ขาย
v Buyer-Oriented Marketplace
มี จุดมุ่งหมายในการลดต้นทุนของสินค้าที่จะซื้อ หรือในตลาดที่มีการประมูล โดยมีการประมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านไปยังเครือข่ายอินทราเน็ตของผู้ซื้อเพื่อประมวลหาผู้ขายที่ดีที่สุด
E-Commerce แบบ B to C
1)            ร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing)
                เป็นการขายตรงจากธุรกิจถึงลูกค้า ซึ่งมีรูปแบบ 2 ประเภทคือ
q Solo Storefronts
q Electronic mall หรือ Cybermall
2)  การโฆษณา
q แบบ Banners
q แบบ E-mail  (แต่อาจจะทำให้เกิด Spamming)
3) แค็ตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์
4) ธนาคารไซเบอร์ (Cyber banking หรือ Electronic Banking หรือ Virtual Banking)
5)            ตลาดแรงงานออนไลน์ (Online job market)
6)            การท่องเที่ยว
7)            อสังหาริมทรัพย์
8)            การประมูล (Auctions)
ขั้นตอนการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต
การซื้อ ขายในระบบ E-Commerce มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
*   การค้นหาข้อมูล
*   การเลือกและการต่อรอง
*   การซื้อสินค้า/บริการทางอินเตอร์เน็ต
*   การจัดส่งสินค้า/บริการ
*   การพัฒนาหลังการขาย
ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์
การจ่ายเงินแบบเดิม เช่น การใช้เงินสด, เช็ค, ธนาณัติ, และการให้หมายเลข Credit Card มีข้อจำกัดในการนำมาใช้กับระบบ E-Commerce  เช่น ความปลอดภัย, ความล่าช้า, และต้นทุนในการดำเนินการ ดังนั้น ระบบ E-Commerce จึงได้มีการพัฒนาการชำระแบบ Electronic เช่น เช็คอิเล็กทรอนิกส์, เครดิตคาร์ดอิเล็กทรอนิกส์, การจ่ายเงินสดอิเล็กทรอนิกส์, การใช้สมาร์ทการ์ด, และการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ E-Commerce
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government)
เป็นการประยุกต์แนวคิดของ E-Commerce โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในการรับ-ส่ง สารสนเทศและการบริการของรัฐสู่ประชาชน, ภาคธุรกิจ, หรือหน่วยงานของรัฐ  ซึ่งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์มี 3 รูปแบบ  คือ
1)  รัฐบาลกับประชาชน  (G2C)
                คือการใช้บริการของรัฐไปยังประชาชน เช่น การเสียภาษี online เป็นต้น
2)  รัฐบาลกับธุรกิจ(G2B)
                เป็นการติดต่อระหว่างภาครัฐกับเอกชน หรือ suppliers เพื่อดำเนินธุรกิจ เช่น การประมูลผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction) การจัดซื้อจัดจ้างผ่านอิเล็กทรอนิกส์ (E-Procurement)
3) รัฐบาลกับรัฐบาล (G2G)
                เป็นการติดต่อระหว่างภาครัฐกับรัฐ ในกระทรวงหรือระหว่างกระทรวงก็ได้      
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบเคลื่อนที่ (M-Commerce)
คือ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านอุปกรณ์แบบไร้สาย เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่, PDA ซึ่งลักษณะสำคัญของ M-Commerce มีดังนี้
                1) เคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว (Mobility)
                2) เข้าถึงง่าย (Reachability)
                3) มีแพร่หลาย (Ubiquity)
                4) สะดวกในการใช้งาน (Convenience)
ตัวอย่างเช่น I-MODE ของ NTT DoCoMo ของประเทศญี่ปุ่น ที่ใช้ในการซื้อขายหุ้น, ซื้อตั๋วเดินทาง, ส่งภาพ, หาข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของ E-Commerce
ประโยชน์ต่อบุคคล
1)            มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย
2)            ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น
3)            สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
4)            ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว
5)            ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด
6)            สนับสนุนการประมูลเสมือนจริง
7)            ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อกับลูกค้ารายอื่นในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
8)            ทำให้เกิดการเชื่อมโยงการดำเนินงานภายในโซ่มูลค่า (Value Chain Integration)
ประโยชน์ต่อองค์การธุรกิจ
1)            ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก
2)            ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ
3)            ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล การกระจายการเก็บและการดึงข้อมูลได้ถึงร้อยละ 90
4)            ลดต้นทุนการสื่อสารโทรคมนาคม เพราะ Internet ราคาถูกกว่าโทรศัพท์
5)            ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
6)            ทำให้การจัดการผลิตมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประโยชน์ต่อสังคม
1)            ทำให้คนสามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง ทำให้การจราจรไม่ติดขัด ลดปัญหามลพิษทางอากาศ
2)            ทำให้มีการซื้อขายสินค้าราคาถูกลง  คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้
ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
1)            กิจการ SMEs ในประเทศกำลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก
2)            ทำให้กิจการในประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้
3)            บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง ทำให้ต้นทุนการซื้อขายลดลง ทำให้อุปสรรคการเข้าสู่ตลาดลดลงด้วย
4)            ทำให้ประชาชนในชนบทได้หาสินค้าหรือบริการได้เช่นเดียวกันในเมือง
5)            เพิ่มความเข้มข้นของการแข่งขัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ข้อจำกัดเกี่ยวกับ E-Commerce
ข้อจำกัดด้านเทคนิค
1)            ขาดมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ
2)            ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด
3)            ซอร์ฟแวร์ยังกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา
4)            ปัญหาความเข้ากันได้ระหว่าง Internet และซอร์ฟแวร์ของ E-commerce กับแอพพลิเคชั่น
5)            ต้องการ Web Server และ Network Server ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ
6)            การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตยังมีราคาแพงและไม่สะดวก
ข้อจำกัดด้านกฎหมาย
1)            กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตรฐานที่เหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่างกัน
2)            การใช้เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีผลทางกฎหมายหรือไม่
3)            ปัญหาเกิดจากการทำธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างจากที่โฆษณาบนอินเทอร์เน็ต จะมีการเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่
ข้อจำกัดด้านธุรกิจ
1)            วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) จะ สั้นลง เพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว การลอกเลียนผลิตภัณฑ์จึงทำได้รวดเร็ว เกิดคู่แข่งเข้ามาในตลาดได้ง่าย จะต้องมีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เสมอ
2)            ความพร้อมของภูมิภาคต่าง ๆในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ E-Commerce มีไม่เท่ากัน
3)            ภาษีและค่าธรรมเนียม จาก E-Commerce จัดเก็บได้ยาก ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง
4)            ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce ครบวงจรค่อนข้างสูง  เพราะรวมถึงค่า Hardware, Software ที่มีประสิทธิภาพ ระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือ การจัดการระบบเครือข่าย ตลอดจนค่าจ้างบุคลากร
5)            ประเทศกำลังพัฒนาต้องลงทุนทางด้านเทคโนโลยีสูงมาก ในโครงสร้างพื้นฐาน
6)            เงินสดอิเลกทรอนิกส์ ทำให้เกิดการฟอกเงินได้ง่าย เนื่องจากการใช้เงินสดอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้การตรวจสอบที่มาของเงินทำได้ยาก
ข้อจำกัดด้านอื่น ๆ
1)            การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเตอร์เน็ต มีมาก และมีการขยายตัวเร็วมากกว่าการพัฒนาของอินเตอร์เน็ตเสียอีก
2)            สิทธิส่วนบุคคล (Privacy) ระบบ การจ่ายเงิน หรือการให้ข้อมูลของลูกค้าทางอินเตอร์เน็ตทำให้ผู้ขายทราบว่าผู้ซื้อเป็นใคร และสามารถใช้ซอร์ฟแวร์ติดตามกิจกรรมต่าง ๆ หรือส่ง Spam ไปรบกวนได้
3)            E-Commerce เหมาะกับระบบเศรษฐกิจที่สามารถเชื่อถือและไว้ใจได้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4)            ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดีของ E-Commerce เช่น การโฆษณาผ่านทาง E-Commerce ว่าได้ผลเป็นอย่างไร
5)            จำนวนผู้ซื้อ / ขาย ที่ได้กำไรหรือประโยชน์จาก E-Commerce ยังมีจำกัด โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งสัดส่วนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากรต่ำมาก และการใช้ E-Commerce ในการซื้อ/ขายสินค้า มีน้อยมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น